ทนายความจังหวัดเพชรบุรี

ทนายความจังหวัดเพชรบุรี

เปิดหน้าต่อไป

รู้จักจังหวัดเพชรบุรี

ตราประจำจังหวัดเพชรบุรี

ตราประจำจังหวัดเพชรบุรี

คำขวัญจังหวัดเพชรบุรี

เขาวังคู่บ้าน ขนมหวาน เมืองพระ เลิศล้ำศิลปะ แดนธรรมะ ทะเลงาม

มารู้จักเมืองเพชรบุรี

เพชรบุรี (/เพ็ดชะบุรี/; เดิมสะกดว่า เพ็ชร์บุรี) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันตก (บ้างก็จัดอยู่ในภาคกลางตอนล่าง ด้านของการพยากรณ์อากาศจัดอยู่ภาคใต้ตอนบน) มีภูมิประเทศทั้งเป็นที่สูงติดเทือกเขาและที่ราบชายฝั่งทะเล มักเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า เมืองเพชร เดิมเรียก พริบพรีและจากหลักฐานในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปรากฏชื่อว่า ศรีชัยวัชรปุระ

จังหวัดเพชรบุรีมีชื่อเสียงในฐานะแหล่งผลิตน้ำตาล เนื่องจากมีต้นตาลหนาแน่น เป็นเมืองเก่าแก่ มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เพชรบุรีเป็นเมืองที่เคยรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของไทยในกลุ่มหัวเมืองฝ่ายตะวันตก ปัจจุบันมีวัดเก่าแก่และบ้านเรือนทรงไทยจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีคำพูดติดปากว่า นักเลงเมืองเพชร ปัจจุบันเพชรบุรีเป็นเมืองด่านสำคัญระหว่างภาคกลางและภาคใต้ และยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น หาดชะอำ หาดปึกเตียน หาดเจ้าสำราญ แหลมหลวง แหลมเหลว และเขื่อนแก่งกระจาน

ประวัติ
ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์เพชรบุรี

เพชรบุรีเป็นเมืองที่เคยรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของไทยในกลุ่มหัวเมืองฝ่ายตะวันตก มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ มีหลักฐานชื่อเรียกปรากฏในหนังสือชาวต่างประเทศ เช่น ชาวฮอลันดาเรียกว่า พิพรีย์ ชาวฝรั่งเศสเรียกว่า พิพพีล์ และ ฟิฟรี จึงสันนิษฐานกันว่าชื่อ "เมืองพริบพรี" เป็นชื่อเดิมของเมืองเพชรบุรี ซึ่งสอดคล้องกับชื่อวัดพริบพลีที่เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัด และที่วัดแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ตั้งเสาชิงช้าอีกด้วย

เพชรบุรี (ศรีชัยวัชรบุรี) เป็นเมืองเก่าแก่มาแต่โบราณ เคยเป็นอาณาจักรเล็ก ๆ อาณาจักรหนึ่ง บางสมัยมีเจ้าผู้ครองนครหรือกษัตริย์ปกครองเป็นอิสระ บางสมัยอาจจะตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรที่เข้มแข็งกว่า เจ้าผู้ครองนครได้ส่งเครื่องบรรณาการไปยังเมืองจีนเป็นประจำ เพชรบุรีมีปรากฏเป็นหลักฐานมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เช่น พระปรางค์ 5 ยอด ณ วัดมหาธาตุวรวิหาร และปราสาทหินศิลาแลง ณ วัดกำแพงแลงเป็นต้น โดยที่มาของชื่อเมืองนั้นอาจเรียกตามตำนานที่เล่าสืบกันมาว่าในสมัยโบราณเคยมีแสงระยิบระยับในเวลาค่ำคืนที่เขาแด่น ทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่ามีเพชรพลอยบนเขานั้นจึงพากันไปค้นหาแต่ก็ไม่พบ จึงได้ออกค้นหาในเวลากลางคืนแล้วใช้ปูนที่ใช้สำหรับกินหมากป้ายเป็นตำหนิไว้เพื่อมาค้นหาในเวลากลางวัน แต่ก็ไม่พบ บ้างก็ว่าเรียกตามชื่อของแม่น้ำเพชรบุรี เมืองเพชรบุรีมีศิลปวัตถุมากมาย เป็นหลักฐานที่แสดงว่าเพชรบุรีเคยเป็นบ้านเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นชุมชนถาวรมาตั้งแต่สมัยทวารวดี เช่น ศิลปะปูนปั้น ทั้งนี้ก็เป็นไปได้ที่มีการเปลี่ยนชื่อ "วัชรปุระ" เป็น "เพชรบุรี" จากแผลงคำในชื่อ "วัชร" เป็น "เพชร" โดยเปลี่ยนจาก "ว" เป็น "พ"

สมัยสุโขทัย

แม้อาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงจะมีอำนาจครอบคลุมเพชรบุรี แต่เพชรบุรีก็ยังมีอิสระอยู่มาก สามารถส่งทูตไปจีนได้ ต้นวงศ์ของกษัตริย์เพชรบุรีในช่วงสมัยสุโขทัยคือ พระพนมทะเลศิริ ผู้เป็นเชื้อสายของพระเจ้าพรหมแห่งเวียงไชยปราการ ราชวงศ์นี้ได้ครองเมืองเพชรบุรีมาจนถึงสมัยพระเจ้าอู่ทองจึงได้เสด็จไปสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

สมัยอยุธยา

ในสมัยอยุธยาตอนต้น เพชรบุรีขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาในแบบศักดินาสวามิภักดิ์มีขุนนางควบคุมเป็นชั้น ๆ ขึ้นไป แต่หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ อำนาจในส่วนกลางมีมากขึ้น เพชรบุรียังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกรุงศรีอยุธยา ดังนั้นอำนาจจากส่วนกลางจึงมามีส่วนในการปกครองเพชรบุรีมากกว่าเดิม

ในสมัยพระมหาธรรมราชา (พ.ศ. 2113) พระยาละแวก เจ้าเมืองเขมร ยกกองทัพมาสู้กับกองทัพอยุธยา แต่สู้ไม่ได้ จึงแพ้และหนีไป อีก 5 ปีต่อมา (พ.ศ. 2118) พระยาละแวกยกทัพเรือมาที่อยุธยาอีก สู้อยุธยาไม่ได้อีก จึงยกกองทัพกลับไป ต่อมา พ.ศ. 2121 ทางเขมรได้ให้พระยาจีนจันตุยกทัพมาตีเมืองเพชรบุรี แต่ชาวเพชรบุรีป้องกันเมืองไว้ได้ ต่อมา พ.ศ. 2124 อยุธยาติดพันรบกับกบฏ พระยาละแวกก็เลยชิงยกกองทัพเรือมาเองมีกำลังประมาณ 7,000 คน เมืองเพชรบุรีจึงตกเป็นของเขมร จนถึงสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงตีเขมรชนะ เพชรบุรีจึงเป็นอิสระ โดยใน พ.ศ. 2136 เมื่อสมเด็จพระนเรศวรฯ พิจารณานิสัยสันดานของเขมรแล้วเจ็บช้ำพระทัย จึงยกกองทัพไปตีเขมร จับครอบครัวเอาไว้แล้วมาไว้ที่อยุธยา ตัดคอล้างพระบาท เพราะชอบฉกฉวยโอกาสขณะที่อยุธยาตีติดทัพที่อื่น แต่พระองค์ท่านยังมีพระเมตตา ให้โอกาสลูกชายคนโตของพระยาละแวก กลับไปปกครองเขมรต่อ แล้วให้ระบุว่า จะต้องไม่เป็นกบฏต่ออยุธยา และต้องเป็นเมืองขึ้นของสยามต่อไป และเนื่องจากทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีเป็นพิเศษ จึงได้เสด็จมาประทับที่เมืองเพชรบุรีเป็นเวลาถึง 5 ปี ก่อนจะทรงยกทัพใหญ่ไปปราบพม่า และสวรรคตที่เมืองหาง

เจ้าเมืองเพชรบุรีและชาวเมืองเพชรบุรีได้ร่วมเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับข้าศึกหลายครั้ง นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช, สมเด็จพระเชษฐาธิราช และสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ โดยเฉพาะในสมัยพระเทพราชา การปราบปรามเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งแข็งเมืองนั้น พระยาเพชรบุรีได้เป็นกำลังสำคัญในการส่งเสบียงให้แก่กองทัพฝ่ายราชสำนักอยุธยา อย่างไรก็ดีเมืองเพชรบุรีถูกตีแตกอีกครั้ง เมื่อพม่าโดยมังมหานรธราได้ยกมาตีไทย จนไทยต้องเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 นั่นเอง

สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจนถึงสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ไทยยังคงทำสงครามกับพม่ามาโดยตลอด ซึ่งเจ้าเมืองและชาวเมืองเพชรบุรีก็ยังคงมีส่วนร่วมในการทำสงครามดังกล่าว จนเมื่อพม่าตกเป็นของอังกฤษ บทบาทของเมืองเพชรบุรีที่มีต่อเมืองหลวงและราชสำนักจึงค่อย ๆ เปลี่ยนไป

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีตั้งแต่ครั้งยังผนวช และเมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว โปรดให้สร้างพระราชวัง วัด และพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นบนเขาเตี้ย ๆ ใกล้กับตัวเมืองและพระราชทานนามว่า “พระนครคีรี” ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังอีกแห่งหนึ่งในตัวเมืองเพชรบุรี คือ “พระรามราชนิเวศน์” หรือที่เรียกกันภาษาชาวบ้านว่า “วังบ้านปืน” และด้วยความเชื่อที่ว่าอากาศชายทะเลและน้ำทะเลอาจบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง “พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน” ที่ชายหาดชะอำเพื่อใช้เป็นที่ประทับรักษาพระองค์

ภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ

ภูมิศาสตร์ ที่ตั้งและอาณาเขต

จังหวัดเพชรบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 ระยะทางประมาณ 123 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 6,225.138 ตารางกิโลเมตรหรือ 3,890,711.20 ไร่ โดยมีส่วนที่กว้างที่สุดวัดได้ 103 กิโลเมตรจากทิศตะวันออก-ตะวันตกและส่วนที่ยาวที่สุดวัดได้ 80 กิโลเมตรจากทิศเหนือ-ใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดและประเทศใกล้เคียงต่อไปนี้

แผนที่แนบท้ายพระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502
ด้านเหนือ ติดกับอำเภอบ้านคา อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี กับอำเภออัมพวาและอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม
ด้านตะวันออก ติดชายฝั่งอ่าวไทย (น่านน้ำติดต่อตรงข้ามกับน่านน้ำจังหวัดชลบุรี ด้านทิศใต้จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้านทิศเหนือ น่านน้ำจังหวัดสมุทรสงคราม น่านน้ำจังหวัดสมุทรสาคร น่านน้ำกรุงเทพมหานคร และน่านน้ำจังหวัดสมุทรปราการ) จากจุดอักษร ก. ตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา45 ฟิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 49 องศา-47 ลิปดา-30 ฟิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นละติจูดไปถึงจุดหมายเลข (1) ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา-45 ฟิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 ฟิลิปดาตะวันออก จากจุดอักษร ข. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดเพชรบุรีกับจังหวัดสมุทรสงครามไปถึงจุดหมายเลข (2) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 ฟิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-10 ลิปดา-00 ฟิลิปดาตะวันออก; แล้วขนานกับเส้นละติจูดไปถึงจุดหมายเลข (3), ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 ฟิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 ฟิลิปดาตะวันออก จากจุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 ฟิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 ฟิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นลองจิจูดไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข (1) ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา-45 ฟิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 ฟิลิปดาตะวันออก
ด้านใต้ ติดกับอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ด้านตะวันตก ติดกับภาคตะนาวศรีของประเทศพม่าภูมิประเทศ

พื้นที่ด้านตะวันตกเป็นป่าไม้และภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นเส้นกั้นอาณาเขตระหว่างไทยกับพม่า เฉพาะในเขตจังหวัดเพชรบุรีมีความยาวประมาณ 120 กิโลเมตร แม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเพชรบุรี มีความยาวตลอดสาย 227 กิโลเมตร แม่น้ำบางกลอย มีความยาว 44 กิโลเมตร และแม่น้ำบางตะบูน มีความยาว 18 กิโลเมตร มีประชากรอาศัยหนาแน่นทางตะวันออกของพื้นที่ ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล ลักษณะภูมิประเทศจังหวัดเพชรบุรี แบ่งเป็น 3 เขต คือ

ก. เขตภูเขาและที่ราบสูง อยู่ทางด้านตะวันตกของจังหวัดติดกับพม่าในบริเวณอำเภอแก่งกระจานและอำเภอหนองหญ้าปล้อง มีภูเขาสูงและเป็นบริเวณที่สูงชันของจังหวัด มีลักษณะเป็นเทือกเขาทอดยาวจากเหนือมาใต้ พื้นที่ถัดจากบริเวณนี้จะค่อย ๆ ลาดต่ำลงมาทางด้านตะวันออก บริเวณนี้เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำเพชรบุรีและแม่น้ำปราณบุรี

ข. เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ บริเวณตอนกลางของจังหวัดซึ่งอุดมสมบูรณ์ที่สุด มีแม่น้ำเพชรบุรีซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน และมีเขื่อนแก่งกระจานและเขื่อนเพชรบุรีซึ่งเป็นแหล่งน้ำระบบชลประทาน บริเวณนี้เป็นเขตเกษตรกรรมที่สำคัญของจังหวัด เขตนี้คือบริเวณบางส่วนของอำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง อำเภอชะอำ อำเภอบ้านลาด อำเภอบ้านแหลม และอำเภอเขาย้อย

ค. เขตที่ราบฝั่งทะเล อยู่ทางด้านตะวันออกของจังหวัด ติดกับชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย บริเวณนี้นับเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญยิ่งของจังหวัดในด้านการประมง การท่องเที่ยว เขตนี้ได้แก่ บางส่วนของอำเภอเมืองเพชรบุรี บ้านแหลม ท่ายาง และชะอำ ลักษณะพื้นที่ชายฝั่งเพชรบุรี เหนือแหลมหลวงไปทางทิศเหนือเป็นพื้นที่ชายฝั่งหาดโคลน มีระบบนิเวศป่าชายเลน ด้านทิศใต้ของแหลมหลวงลงไปด้านทิศใต้เป็นหาดทราย แหลมหลวงซึ่งอยู่ในพื้นที่ตำบลแหลมผักเบี้ยจึงเป็นแหลมที่แบ่งระบบนิเวศป่าชายเลน ออกจากระบบนิเวศหาดทราย เหนือแหลมหลวงขึ้นไปด้านทิศเหนือมีลักษณะเป็นหาดโคลนเพราะอยู่ใกล้พื้นที่ชุมน้ำของแม่น้ำสายใหญ่ ได้แก่ แม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำบางตะบูน แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง เมื่อฤดูน้ำหลากน้ำจากแม่น้ำได้พัดพาตะกอนลงสู่ทะเลเป็นจำนวนมาก จึงส่งผลให้พื้นที่ของชายฝั่งแถบนี้มีตะกอนในน้ำสูง ส่งผลให้ชายฝั่งมีโคลนจำนวนมาก ซึ่งเหมาะแก่ระบบนิเวศป่าชายเลน เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเล บริเวณอ่าวไทยในเขตอำเภอบ้านแหลมถือว่าเป็นอ่าวที่พบหอยหลากชนิด เช่น หอยเสียบ หอยปากเป็ด หอยตระกาย หอยตลับ หอยหลอด หอยแครง เป็นต้น โดยเฉพาะหอยแครง เป็นแหล่งที่พบมากที่สุดในโลก ภายหลังได้มีการตัดไม้ป่าชายเลนนำไปเผาถ่าน ทำลายป่าเพื่อทำนากุ้งกุลาดำ จึงส่งผลให้ป่าชายเลนถูกทำลายเป็นจำนวนมาก

ภูมิอากาศ

จังหวัดเพชรบุรีอยู่ติดอ่าวไทยจึงได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ในฤดูฝน ซึ่งมีผลทำให้ฝนตกชุก และอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว จึงทำให้มีอากาศหนาวเย็นในช่วงเวลาดังกล่าว สามารถแบ่งฤดูกาลออกเป็น 3 ฤดู

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 32.13 องศาเซลเซียสฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 959.5 มิลลิเมตร
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 24.16 องศาเซลเซียส

ใน พ.ศ. 2550 อุณหภูมิอากาศสูงที่สุด 37 องศาเซลเซียส (19 เมษายน) อุณหภูมิอากาศต่ำที่สุด 16 องศาเซลเซียส (4 กุมภาพันธ์) อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยทั้งปี 28.02 องศาเซลเซียส ปริมาณฝนตกรวมทั้งปี 1,113.4 มิลลิเมตร มีจำนวนวันฝนตกวัดได้ตั้งแต่ 0.1 มิลลิเมตร จำนวน 99 วัน จากสถิติปริมาณน้ำฝนตั้งแต่ พ.ศ. 2537–2550 เฉลี่ยวันฝนตกประมาณปีละ 103 วัน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในรอบ 12 ปี (พ.ศ. 2539–2550) 1,003.43 มิลลิเมตรต่อปี โดยมีฝนตกมากในช่วงเดือนกันยายน–ตุลาคม

เขตการปกครอง

1. อำเภอเมืองเพชรบุรี

ที่ว่าการอำเภอเมืองเพชรบุรี ถนนราชวิถี ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี 76000
โทรศัพท์ : 0-3242-5544 
Fax. : 0-3242-5544 ต่อ 15 
Email : 
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 


2. อำเภอเขาย้อย

ที่ว่าการอำเภอเขาย้อย ถนนเพชรเกษม ตำบลเขาย้อย อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี 76140
โทรศัพท์ : 0-3256-2392 
Fax. : 0-3256-2645 
Email : 
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 


3. อำเภอหนองหญ้าปล้อง

ที่ว่าการอำเภอหนองหญ้าปล้อง เลขที่ 9 หมู่ที่ 4 ถนนหนองควง-หนองหญ้าปล้อง ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี 76160
โทรศัพท์ : 0-3249-4376 
Fax. : 0-3249-4376 
Email : 
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 


4. อำเภอชะอำ

ที่ว่าการอำเภอชะอำ ถนนนราธิป ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120
โทรศัพท์ : 0-3247-1078, 0-3247-0650, 0-32471-361, 0-3247-2502 
Fax. : 0-3247-1078, 0-3247-0650 
Email : 
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 


5. อำเภอท่ายาง

ที่ว่าการอำเภอท่ายาง เลขที่ 19 ถนนราษฎรบำรุง ตำบลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี 76130
โทรศัพท์ : 0-3246-1544,0-3246-1547,0-3246-1548,0-3246-1375 
Fax. : 0-3246-1547 ต่อ 12 
Email : 
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 


6. อำเภอบ้านลาด

ที่ว่าการอำเภอบ้านลาด ถนนสายสุทธิ หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านลาด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี 76150
โทรศัพท์ : 0-3249-1316 
Fax. : 0-3249-1316 
Email : 
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 


7. อำเภอบ้านแหลม

ที่ว่าการอำเภอบ้านแหลม เลขที่ 20/10 หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านแหลม อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี 76110
โทรศัพท์ : 032-481168 
Fax. : 032-481168 
Email : 
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 


8. อำเภอแก่งกระจาน

ที่ว่าการอำเภอแก่งกระจาน หมู่ที่ 1 ถนนเขื่อนเพชร-แก่งกระจาน ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี 76170
โทรศัพท์ : 032-459118 
Fax. : 032-459118 
Email : kangkajan7608@gmail.com 
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ

  • สถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญ     
  • ศิลปวัฒนธรรมเพชรบุรีโบราณสถานในเมืองเพชร
  • หาดเจ้าสำราญ
  • หาดชะอำ
  • หาดปึกเตียน
  • วัดเกษมสุทธารามโบสถ์
  • วัดท่าคอย ท่ายาง เพชรบุรี
  • วัดชายนา ท่ายาง เพชรบุรี
  • ตลาดริมน้ำท่าน้ำข้ามภพ ท่ายาง เพชรบุรี
    พระราชวังรามราชนิเวศ (วังบ้านปืน)วัดโคมนาราม (ที่จมทะเลไปแล้ว) - วัดโคมนาราม (วัดในบางแก้ว) ปัจจุบันได้ย้ายเข้ามาในแผ่นดินแล้ว สำหรับวัดที่อยู่ที่เดิมได้จมลงในทะเลไปแล้ว หลังจากได้มีการกัดเซาะของกระแสน้ำในทะเลอย่างรุนแรง ยากต่อการป้องกัน ซึ่งหลังจากได้มีการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียได้ศึกษาและได้ทำการหาวิธีป้องกัน ลดผลกระทบ ในปัจจุบันความรุนแรงของปัญหาการกัดเซาะได้ลดลงบ้างวัดปากน้ำ-ท่าหิน เป็นวัดร้างที่คงหลงเหลืออยู่แค่พระพุทธรูปกับซุ้มเท่านี้ อยู่ถนนโพธิ์การ้องใกล้สี่แยกท่าหินที่ไปบางแก้ววัดปีป เป็นวัดร้างที่ตั้งอยู่ข้างรางรถไฟในเขตตำบลช่องสะแก อำเภอเมืองเพชรบุรีชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศมหาราช เป็นชายฝั่งทะเลในพื้นที่แหลมผักเบี้ย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกชื่อชายฝั่งทะเลของจังหวัดเพชรบุรี-จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีความยาว 200 กิโลเมตร มีความยาวคอดไปถึงอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อแสดงถึงวีรกรรม พระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและเพื่อประกาศพระเกียรติคุณของพระมหากษัตริย์ไทย ให้ปรากฏพระนามบนแผนที่ 

X